จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เซลล์ไฟฟ้าเคมี (Electrochemical cell)

เซลล์ไฟฟ้าเคมี แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1) เซลล์กัลวานิก (Galvanic cell) หรืออาจเรียกว่า เซลล์โวลตาอิก (Voltaic cell) เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่สารทำปฏิกิริยากันแล้วทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า

2) เซลล์อิเล็กโทรไลต์ (Electrolytic cell) เป็นเซลล์ไฟฟ้าเคมีที่ต้องผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี


ขั้วไฟฟ้า (Electrode)

คือโลหะที่จุ่มอยู่ในสารละลายที่มีไอออนอยู่และสามารถนำไฟฟ้าได้ ขั้วไฟฟ้าแบ่งตามลักษณะปฏิกิริยาเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1) แอโนด (Anode) เป็นขั้วไฟฟ้าของครึ่งเซลล์ที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน

2) แคโทด (Cathode) เป็นขั้วไฟฟ้าของครึ่งเซลล์ที่เกิดปฏิกิริยารีดักชัน
สะพานไอออนหรือสะพานเกลือ (Salt bridge)

คือส่วนที่เชื่อมต่อระหว่างสารละลายอิเล็กโทรไลต์ของสองครึ่งเซลล์เข้าด้วยกันเพื่อให้ครบวงจร สะพานไอออนทำหน้าที่รักษาสมดุลของไอออนบวกและไอออนลบ การเตรียมสะพานไอออนเตรียมได้จากสารละลายเกลือ ได้แก่ KCl , KNO3 , K2SO4 , NH4Cl , NH4NO3 เป็นต้น ในแผนภาพเซลล์เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ || สารที่จะนำมาใช้ทำเป็นสะพานไอออนควรมีสมบัติดังนี้

1. เป็นสารประกอบไอออนิกที่แตกตัวได้ 100%

2. ไม่ทำปฏิกิริยากับไอออนที่อยู่ในครึ่งเซลล์

3. ไอออนบวกและไอออนลบในสารประกอบไอออนิกนั้นจะต้องเคลื่อนที่ด้วยความเร็วใกล้เคียงกันเพื่อรักษาสมดุลของไอออนบวกและไอออนลบได้ดี


ครึ่งเซลล์ (Half cell)

หมายถึงระบบที่ประกอบด้วยโลหะจุ่มอยู่ในสารละลายที่มีไอออนของโลหะ เช่น โลหะสังกะสีจุ่มอยู่สารละลาย ZnSO4 เขียนสัญลักษณ์ได้เป็น Zn(s)|Zn2+(aq) และโลหะทองแดงจุ่มในสารละลาย CuSO4 เขียนสัญลักษณ์ได้เป็น Cu(s)|Cu2+(aq)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น